1.6 โครงสร้างพื้นฐาน

1.6 โครงสร้างพื้นฐาน
      1) การคมนาคมขนส่ง การเดินทางมายังจังหวัดยโสธร มีถนนสายสำคัญ ได้แก่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23, 202 และทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2083, 2169, 2043 โดยเส้นทางการเดินทางมี 2 เส้นทาง คือ สายเก่า: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร และสายใหม่: กรุงเทพฯ-สระบุรี-นครราชสีมา-ประทาย-พยัคฆ์ภูมิ-เกษตรวิสัย-สุวรรณภูมิยโสธรโดยสามารถเดินทางได้ดังนี้ 
1.1) รถยนต์ : ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงจังหวัดสระบุรีจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)ผ่านจังหวัดนครราชสีมาไปทางอำเภอพิมายผ่านอำเภอหนองสองห้องและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วจึงแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23ผ่านอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิแล้วจึงถึงจังหวัดยโสธร รวมระยะทาง 531 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7-8 ชั่วโมง
1.2) สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยโสธร มี 1 แห่ง มีรถโดยสารประจำทางเข้าใช้สถานี จำนวน 22 เส้นทาง เฉลี่ยวันละ 200 เที่ยวมีผู้โดยสาร เฉลี่ยวันละประมาณ 700-1,000 คน(ข้อมูล ณ 1 กันยายน 2561) มีเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ดังนี้
                1.2.1) เส้นทางภายในเขตเมืองและเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 1 เส้นทาง คือ บ้านตาดทอง-บ้านบาก
                1.2.2) เส้นทางเริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ไปยังส่วนภูมิภาค จำนวน 3 เส้นทาง
                1.2.3) เส้นทางระหว่างจังหวัดหรือคาบเกี่ยวระหว่างเขตจังหวัดในส่วนภูมิภาคจำนวน 15 เส้นทาง
                1.2.4) เส้นทางในเขตจังหวัด ซึ่งอาจจะประกอบด้วยเส้นทางสายหลักสายเดียวหรือเส้นทางสายหลักและเส้นทางสายย่อยซึ่งแยกออกจากเส้นทางสายหลักไปยังอำเภอ หมู่บ้าน หรือเขตชุมชน จำนวน 7 เส้นทาง นอกจากนี้ มีวินจักรยานยนต์รับจ้างในเขตอำเภอเมืองยโสธร จำนวน 10 วิน
           1.3) ทางรถไฟและเครื่องบิน : จะต้องลงที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วต่อรถยนต์มาที่จังหวัดยโสธรอีกประมาณ 99 กิโลเมตรและในอนาคตระยะต่อไป จังหวัดยโสธรจะมีทางรถไฟผ่านพื้นที่อำเภอเลิงนกทาและการพัฒนาและผลักดันให้สนามบินเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์
       2) ถนน จังหวัดยโสธร มีถนนสายหลักที่เชื่อมไปสู่จังหวัด อำเภอ แหล่งท่องเที่ยว และแหล่งขนส่งสินค้าทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงโดยมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
            2.1) แขวงทางหลวงยโสธร มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดยโสธรเป็นทางหลวงแผ่นดิน 6 สายทาง ได้แก่
                    2.1.1)  ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เสลภูมิ – ยโสธร ระหว่าง กม.153 + 652 – กม.175 + 527, ตอน ยโสธร – บ้านย่อระหว่าง กม.175 + 527 – กม.175 + 852 ,กม.179 + 845 – กม.190 + 562, ตอน ยโสธร – บ้านสวน ระหว่าง กม.190 + 562 – กม.220+182 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดร้อยเอ็ด ไปยังจังหวัดยโสธร, จังหวัดอุบลราชธานี
                   2.1.2)  ทางหลวงหมายเลข 202 ตอน ยโสธร – สะพานคลองลำเซ ระหว่าง กม.266 + 412 – กม.298 + 560 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร, ไปยังจังหวัดอำนาจเจริญ
                   2.1.3)  ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน สะเดา – คำเขื่อนแก้ว ระหว่าง กม.33 + 699 – กม.60 + 673เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
                   2.1.4)  ทางหลวงหมายเลข 2043 ตอน ยางเฌอ–มหาชนะชัย ระหว่างกม.75+ 090 – กม.88 + 139เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
                   2.1.5)  ทางหลวงหมายเลข 2169 ตอน ยโสธร–กุดชุม ระหว่างกม.2 + 234 – กม.37 + 241 เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดมุกดาหาร
                   2.1.6)  ทางหลวงหมายเลข 2351 ตอน พลไว – แข้โพนเมือง ระหว่าง กม.0+000 – กม.35 + 200เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากจังหวัดยโสธร ไปยังจังหวัดศรีสะเกษ
               2.2) แขวงทางหลวงชนบทยโสธร มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดยโสธรจำนวน 32 สายทาง ระยะทาง 610.023  กิโลเมตร  ในปี พ.ศ. 2559 มีการจัดตั้งหมวดบำรุงทางหลวงชนบทเลิงนกทา ตั้งอยู่ที่ตำบลสร้างมิ่ง  อำเภอเลิงนกทา เพื่อให้สามารถดูแลบำรุงรักษาโครงข่ายทางหลวงชนบทให้ครอบคลุมทั่วถึง โดยแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบ ดังนี้
                       2.2.1)แขวงทางหลวงชนบทยโสธร  รับผิดชอบในเขตพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร  อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย  อำเภอป่าติ้ว อำเภอทรายมูล  อำเภอกุดชุม มีจำนวนสายทาง 21  สายทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 365.853 กิโลเมตร ผิวจราจรลาดยาง 352.156 กิโลเมตร ผิวจราจรคอนกรีต 13.697 กิโลเมตร สะพานในสายทาง จำนวน 60 แห่ง รวมความยาวสะพาน2,149 เมตร
                       2.2.2) หมวดบำรุงทางหลวงชนบทเลิงนกทา รับผิดชอบในเขตพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอเลิงนกทา มีจำนวนสายทาง 11 
สายทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 244.170 กิโลเมตร ผิวจราจรลาดยาง 237.802 กิโลเมตร ผิวจราจรคอนกรีต 6.368 กิโลเมตร
                2.3) อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะรับผิดชอบพัฒนาถนนหนทางเชื่อมโยงระดับอำเภอตำบล หมู่บ้าน อย่างไรก็ตาม ในหลายเส้นทางชาวบ้านยังคง
มีความต้องการได้รับการพัฒนาด้านถนนให้สามารถสัญจรไปมาสะดวกปลอดภัยและขนส่งผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเส้นทางไปสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
        3) ไฟฟ้า  จังหวัดยโสธรมี 885 หมู่บ้าน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธรซึ่งมีหน้าที่จัดหาพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้บริการแก่ประชาชน มีสถานีจ่ายไฟฟ้า ที่สามารถจ่ายไฟได้ 100 MVA จำนวน  1 แห่ง โหลดการใช้ไฟฟ้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนในปัจจุบัน 44 เมกกะวัตต์ คิดเป็น ร้อยละ 40  เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน มีการให้บริการรับคำร้องขอใช้ไฟฟ้า ขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า บริการแก้กระแสไฟฟ้าขัดข้อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธรมีสำนักงานสาขา และสาขาย่อยให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดยโสธร ดังต่อไปนี้
           (1)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาอำเภอมหาชนะชัย
           (2)  การไฟฟ้าส่วนมิภาคสาขาเลิงนกทา (สังกัดการฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอำนาจเจริญ)
           (3)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอคำเขื่อนแก้ว
           (4)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอกุดชุม
           (5)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอทรายมูล
           (6)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอป่าติ้ว
           (7)  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสาขาย่อยอำเภอไทยเจริญสถานการณ์จ่ายกระแสไฟฟ้า สามารถขยายเขตระบบจำหน่ายได้ครบทุกหมู่บ้านจำนวน ผู้ขอใช้ไฟฟ้าในปัจจุบันมีจำนวน 167,630 ราย (ข้อมูล  ณ กันยายน 2561) โดยปี 2560 ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ 167,073 ครัวเรือน และครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีจำนวน 663 ครัวเรือน

                                       

จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้และไม่มีไฟฟ้าใช้


อำเภอ

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช ้
(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

มีไฟฟ้าใช้(ครัวเรือน)

ไม่มีไฟฟ้าใช้
(ครัวเรือน)

เมืองยโสธร

40,766

486

41,906

335

43,000

290

44,121

210

45,229

123

เลิงนกทา

25,508

298

26,667

185

27,854

144

29,020

124

30,157

89

คำเขื่อนแก้ว 

17,851

341

18,318

322

18,795

303

19,315

241

19,844

124

มหาชนะชัย

13,954

269

14,269

268

14,596

266

15,034

153

15,412

86

กุดชุม

19,348

165

19,705

132

20,024

119

20,324

120

20,645

84

ป่าติ้ว           

9,589

144

9,877

132

10,162

120

10,465

87

10,730

76

ทรายมูล

8,077

118

8,365

98

8,638

81

8,911

69

9,179

42

ค้อวัง 

6,421

98

6,526

76

6,626

62

6,553

54

6,704

23

ไทยเจริญ

7,862

83

8,197

69

8,520

63

8,877

23

9,173

16

รวม

149,376

2,002

153,830

1,617

158,215

1,448

162,620

1,081

167,073

663

       ที่มา : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดยโสธร

        4) ประปา จังหวัดยโสธรมีสำนักงานประปาภูมิภาค จำนวน 3 สาขา 2 หน่วยบริการ ได้แก่ สำนักงาน กปภ. สาขายโสธร, สำนักงาน กปภ. สาขามหาชนะชัย, สำนักงาน กปภ. สาขาเลิงนกทา, หน่วยบริการป่าติ้ว (ในสังกัดสำนักงาน กปภ. สาขาอำนาจเจริญ)และหน่วยบริการค้อวัง บริการในเขตเทศบาลและบริเวณใกล้เคียงในชุมชน 7 อำเภอ คืออำเภอเมืองยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอมหาชนะชัย อำเภอค้อวัง อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว ส่วนอำเภอที่เหลือเป็นประปาของเทศบาลตำบลหรือใช้ระบบปั๊มน้ำบาดาลสำหรับในเขตชนบท จากการสำรวจข้อมูล กชช. 2ค ปี 2556จำนวน 885 หมู่บ้าน ใช้ระบบประปาหมู่บ้านหรือลักษณะประปาหมู่บ้านเพื่อเป็นน้ำใช้ จำนวน 839 แห่ง และยังไม่มีระบบประปาหมู่บ้านหรือน้ำใช้เพียงพอทุกครัวเรือน จำนวน 46 หมู่บ้านในจำนวนนี้อาจมีหลายแห่งไม่สามารถทำการก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้านเพิ่มเติมได้อีกเพราะมีปัญหาปริมาณน้ำหรือไม่มีคุณภาพ จะต้องจัดหาแหล่งน้ำ ผิวดินมาเป็นน้ำดิบต่อไป
               แหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตประปา
                      - กปภ.สาขายโสธร กปภ.สาขามหาชนะชัย และหน่วยบริการค้อวัง ใช้แหล่งน้ำดิบจากแม่น้ำชี
                     - กปภ.สาขาเลิงนกทา ใช้แหล่งน้ำดิบหลักจากลำเซบาย แหล่งน้ำสำรองคือ อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจนและอ่างเก็บน้ำหนองแฝก
                     - หน่วยบริการป่าติ้ว (กปภ.สาขาอำนาจเจริญ) ใช้แหล่งน้ำดิบจากลำเซบาย และสถานีผลิตน้ำหนองเรือ
              พื้นที่ให้บริการ ได้แก่ อำเภอเมืองยโสธร , อำเภอเลิงนกทา , อำเภอกุดชุม, อำเภอมหาชนะชัย,อำเภอค้อวัง, อำเภอคำเขื่อนแก้ว และอำเภอป่าติ้ว
                                                                                    กำลังการผลิตและการให้บริการรวมทั้ง 4 แห่ง


ปี พ.ศ.

กำลังผลิต
ที่ใช้งาน
(ลบ.ม./วัน)

จำนวนน้ำ
ที่ผลิต
(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำผลิตจ่าย
(ลบ.ม.)

ปริมาณน้ำ
ที่จำหน่าย
(ลบ.ม.)

จำนวนผู้ใช้น้ำประปา
(ราย)

2557

25,207

7,088,035

6,234,163

5,616,199

20,269

2558

25,299

5,920,334

5,431,192

4,792,963

21,015

2559

25,299

7,634,812

6,688,099

5,246,862

21,961

2560

25,299

6,895,375

6,550,905

5,329,837

23,486

2561

25,299

4,164,979

3,930,206

3,265,541

23,825

                               ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาคสาขายโสธร

        5) โทรศัพท์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีส่วนบริการลูกค้าจังหวัดยโสธร ประกอบด้วยศูนย์บริการลูกค้า 2 แห่ง  ดังนี้
                     (1) ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขายโสธร  ดูแลพื้นที่  อำเภอเมือง , อำเภอทรายมูล, อำเภอป่าติ้วอำเภอคำเขื่อนแก้ว , อำเภอมหาชนะชัย  และ  อำเภอค้อวัง
                     (2) ศูนย์บริการลูกค้า ทีโอที สาขาเลิงนกทา ดูแลพื้นที่ อำเภอกุดชุม , อำเภอไทยเจริญ และ อำเภอเลิงนกทา    

ข้อมูลบริการ

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

โทรศัพท์พื้นฐาน (Fixedline)
- บ้านพัก

5,746

5,703

5,140

อินเทอร์เน็ต
- บริการ FTTx
- บริการ ADSL
- บริการ Wi-Net

1,778
3,072
339

5,061
1,385
109

7,079
359
44

หมายเหตุ :ข้อมูลดังกล่าวเป็นจำนวนเลขหมายเปิดใช้ของผู้ใช้บริการในพื้นที่จังหวัดยโสธรและในอนาคตบริการ ADSL ,บริการ Wi-Net จะถูกทดแทนด้วยบริการ FTTx
         6) อินเทอร์เน็ต ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://benchmark.moi.go.th จังหวัดยโสธรมีสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตต่อจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 อย่างไรก็ตามสัดส่วนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2560ร้อยละ 39.39 ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ (ร้อยละ 49.69)

ค่าสถิติ

ค่าอันดับใน 76 จังหวัด

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

อัตราการเปลี่ยนแปลง

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

อันดับการเปลี่ยนแปลง

24.23

29.63

39.39

เพิ่ม

72

72

64

ขึ้น 8 อันดับ


           7)  การสื่อสารคมนาคม
              

1) ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 9 แห่งตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองยโสธร 1 แห่ง อำเภอคำเขื่อนแก้ว 2 แห่ง และอำเภอที่เหลืออำเภอละ 1 แห่ง ยกเว้นอำเภอไทยเจริญโดยมีบริการที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ บริการรับฝาก-ส่งต่อ-นำจ่ายไปรษณียภัณฑ์ธรรมดาและประเภทมีหลักฐาน (ลงทะเบียน) และพัสดุไปรษณีย์,บริการรับฝากสิ่งของส่งทางไปรษณีย์แบบด่วนพิเศษ EMS ส่งสิ่งของขนาดใหญ่ Logispost ทั้งในและต่างประเทศ, บริการการเงินในประเทศได้แก่ธนาณัติธรรมดาและออนไลน์,บริการการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ Western Union, บริการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค และรับชำระค่าบริการอื่น ๆ ตามใบแจ้งหนี้ และจำหน่ายสินค้าไปรษณีย์ทั่วไปและสินค้าฝากขายของภาคเอกชน
2) สถานีวิทยุกระจายเสียง 
จำนวน 5 แห่ง และมีสถานีวิทยุชุมชนกระจายอยู่ในตำบลหมู่บ้าน จำนวน 59 แห่ง
3) หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง มีหนังสือพิมพ์เสียงมวลชนยโสธร, หนังสือพิมพ์ เอส วีไอพี,หนังสือพิมพ์ โมเดรินไทมน์นิวส์, มีผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง จำนวน 7 คน ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ทุกช่องประจำจังหวัด จำนวน 8 คน สถานีโทรทัศน์ดาวเทียม จำนวน 1 แห่ง และสถานีเคเบิ้ลทีวี จำนวน 1 แห่ง
4) จังหวัดยโสธรได้จัดทำเว็บไซต์ (website) เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลของจังหวัด ได้แก่ เว็บไซต์จังหวัดยโสธร (www.yasothon.go.th) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร
(www.prd.go.th/yasothon) เว็บไซต์ท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร (www.visityasothon.com) และเฟสบุ๊คจังหวัดยโสธร (www.facebook.com/j.yasothon/) และประสานติดต่อข่าวสารราชการกับจังหวัดยโสธร ได้ที่ E–Mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือสำนักงานจังหวัดยโสธร โทร./โทรสาร 0 4571 4212, 0 4571 2722, 0 4571 5523 (มท.) 43523, 43529, 43522, 43521