1.4 ข้อมูลเศรษฐกิจ

1.4 ข้อมูลเศรษฐกิจ

                1.4.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประกาศข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ฉบับปี พ.ศ.2560 พบว่า จังหวัดยโสธร ในปี 2560 โครงสร้างการผลิตตามมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) จังหวัดยโสธร จำนวน 19 สาขา มีมูลค่า 26,039 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 1,141 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 24,898 ล้านบาท และลดลง 362 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีมูลค่าอยู่ที่26,401 ล้านบาท) จัดเป็นลำดับที่ 17 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลำดับที่ 3 ของกลุ่มจังหวัด และลำดับที่ 71 ของประเทศและมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2560 ร้อยละ -2.67 และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยตั้งแต่ ปี2556-2560 ร้อยละ 0.29 โดยสาขาการผลิตภาคเกษตรมีมูลค่า 6,331 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.31 ของผลิตภัณฑ์มวลจังหวัด และสาขาการผลิตนอกภาคเกษตร เท่ากับ 19,708 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.69 โดยสาขาการผลิตที่มีมูลค่าสูงสุด 5 ลำดับแรก คือ
                  (1) สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง จำนวน 6,331 ล้านบาท
                  (2) สาขาการศึกษา จำนวน 4,663 ล้านบาท
                  (3) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์จำนวน 3,227 ล้านบาท
                  (4) สาขาการเงินและการประกันภัย จำนวน 2,672 ล้านบาท
                  (5) การผลิตอุตสาหกรรมจำนวน 2,295 ล้านบาท
                  ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 24.31, 17.91, 12.39, 10.26 และ 8.81 ตามลำดับ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวังขณะที่มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per Capita : GPP) มีจำนวน 54,183 ล้านบาทจัดเป็นลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 4 ของกลุ่มจังหวัด และลำดับที่ 75 ของประเทศ

                     ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ของจังหวัด จำแนกตามสาขาการผลิต พ.ศ.2556–2560


สาขาการผลิต

มูลค่า (ล้านบาท)

พ.ศ. 2556

พ.ศ.
2557

พ.ศ.
2558

พ.ศ.
2559

พ.ศ. 2560

ภาคเกษตร

9,228

7,527

7,200

6,805

6,331

เกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง

9,228

7,527

7,200

6,805

6,331

ภาคนอกการเกษตร

18,161

17,418

17,704

19,596

19,708

การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน

79

77

94

139

148

การผลิตอุตสาหกรรม

2,190

1,542

1,669

2,139

2,295

ไฟฟ้า ก๊าซ และระบบปรับอากาศ

320

347

335

350

367

การประปาและการจัดการของเสีย

59

62

69

72

92

การก่อสร้าง

1,355

1,391

1,147

1,283

837

การขายส่ง การขายปลีก การซ่อมยานยนต์
และจักรยานยนต์

2,614

2,527

2,724

3,149

3,227

การขนส่ง และสถานที่เก็บสินค้า

469

515

511

604

602

สาขาการผลิต

มูลค่า (ล้านบาท)

พ.ศ. 2556

พ.ศ.
2557

พ.ศ.
2558

พ.ศ.
2559

พ.ศ. 2560

ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

69

67

73

79

96

ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

215

214

223

204

229

การเงินและการประกันภัย

1,742

2,003

2,178

2,596

2,672

กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

1,326

1,100

1,015

1,181

1,110

กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ
กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

1

1

2

2

2

กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนอื่นๆ

47

62

47

20

21

การบริหารราชการ การป้องกันประเทศฯ

1,378

954

1,384

1,341

1,382

การศึกษา

4,733

4,909

4,478

4,614

4,663

กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์

1,110

1,186

1,279

1,318

1,434

ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

45

45

45

56

67

กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

408

415

432

450

464

ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Products)

27,389

24,945

24,898

26,401

26,039

ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อคน (GPP Per Capita) (บาท)

56,416

51,498

51,529

54,775

54,183

จำนวนประชากร (1,000 คน)

485

484

483

482

481

                       ที่มา: สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธรสำนักงานคลังจังหวัดยโสธร และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
                และสังคมแห่งชาติ

                                 ตารางแสดงอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี 2556-2560

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

เฉลี่ย 5 ปี

2.11

-0.83

-1.73

4.58

-2.67

0.29

            1.4.2 การเกษตร ประชากรในจังหวัดยโสธรส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำนา ปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์
โดยจังหวัดยโสธร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง จากปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2556 มีจำนวน 9,228 ล้านบาท ปี 2557 จำนวน 7,527 ล้านบาท ปี 2558 จำนวน 7,200 ล้านบาทปี 2559 จำนวน 6,870 ล้านบาท และปี 2560 จำนวน 6,331 ล้านบาท
                   1) พื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร พบว่า ในปี 2560จังหวัดยโสธรมีพื้นที่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จำนวน 1,718,036 ไร่ โดยเป็นเนื้อที่นา จำนวน 1,376,091 ไร่ เนื้อที่พืชไร่ จำนวน 142,848 ไร่ เนื้อที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น จำนวน 104,192 ไร่ และเนื้อที่ที่มีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 6,741 ไร่ (ปี 2561 จำนวน 4,183 ไร่)

ลำดับ

รายการข้อมูล

ปี
2556

ปี
2557

ปี
2558

ปี
2559

ปี
2560

ปี 2561

1

เนื้อที่การใช้ประโยชน์
ทางการเกษตร (ไร่)

1,717,923

1,717,650

1,717,713

1,718,452

1,718,036

-

2

เนื้อที่นา (ไร่)

1,376,090

1,375,851

1,376,250

1,376,505

1,376,091

-

3

เนื้อที่พืชไร่ (ไร่)

142,765

142,726

142,567

142,932

142,848

-

4

เนื้อที่ไม้ผลและไม้ยืนต้น (ไร่)

104,004

104,109

103,953

104,104

104,192

-

5

เนื้อที่สวนผัก ไม้ดอก
ไม้ประดับ (ไร่)

5,314

5,261

5,262

5,251

5,237

-

6

เนื้อที่การเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำจืด (ไร่)

5,519

4,566

6,140

7,013

6,741

4,183

7

ครัวเรือนที่มีการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำจืด (ครัวเรือน)

4,280

4,185

8,784

9,707

9,825

4,134

                         ที่มา : สำนักงานสถิติจังหวัดยโสธร

                         2) พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดยโสธรมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน แตงโมเนื้อ ถั่วลิสง ข้าวโพด หอมแดง เป็นต้น ผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะข้าวอินทรีย์เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
                         2.1) การปลูกพืชเศรษฐกิจของจังหวัดยโสธร

ปีการผลิต/รายการข้อมูล

ข้าวนาปี

ข้าวนาปรัง

มันสำปะหลัง

แตงโมเนื้อ

ถั่วลิสง

ปี 2559/2560

         

ผู้ปลูก (ราย)

245,805

4,530

15,002

1,565

780

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,348,139

28,250

74,601

12,184

906

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

546,639,880

3,475,220

211,989,000

798,750

427,680

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

436

553

3162

777

536

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

8.06

7.01

1.88

11.49

30.44

ปี 2560/2561

         

ผู้ปลูก (ราย)

88,736

6,215

7,802

487

514

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,399,481

65,078

84,175

1,335

1,143

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

600,981,845

35,988,134

211,989,000

905,902

154,670

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

440

583

3,362

3,470

280

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

10.00

5.00

2.08

13.00

25

ปี 2561/2562

         

ผู้ปลูก (ราย)

92,670

5,265

8,095

370

779

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,348,139

56,523

97,852

925

1,948

เนื้อที่ให้ผลผลิต (ไร่)

1,285,451

56,523

76,927

925

1,948

เนื้อที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

1,285,451

56,523

76,927

925

1,948

ผลผลิต
ที่เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

546,639,880

35,239,834

211,989,000

963,250

395,200

ผลผลิตเฉลี่ย (หน่วยต่อไร่)

436

560

3,452

3,750

290

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

11.26

6.03

2.35

11.75

28

ปี 2562/2563

         

ผู้ปลูก (ราย)

96,802

 

9,310

422

318

เนื้อที่ปลูก (ไร่)

1,342,345

 

101,244

1,165

530

ผลผลิตที่
เก็บเกี่ยวได้ (กก.)

456,617,280

 

211,989,000

1,490,910

122,700

ผลผลิตเฉลี่ย
(หน่วยต่อไร่)

420

 

3,458

3,785

288

ราคาเกษตรกรขายได้เฉลี่ย (บาท/หน่วย)

13.50

 

2.27

12

30

                               ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร

                          2.2) การปลูกข้าวของจังหวัดยโสธร
                                 (1) พื้นที่ปลูกข้าว

รายการสถิติ

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
ของจังหวัด(ไร่)

1,463,759

1,422,846

1,399,481

1,348,139

1,342,345

                                 (2) ผลผลิตข้าว ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร พบว่า ในปี 2562 จังหวัดยโสธร มีผลผลิตข้าวนาปี 456,617 ตัน ผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ยต่อไร่ 420 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตข้าวนาปรัง 35,293 ตัน ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ยต่อไร่ จำนวน 628 กิโลกรัม/ไร่ ปริมาณการจับสัตว์น้ำจืด 6,208,711 ตัน

ลำดับ

รายการข้อมูล

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

1

ผลผลิตข้าวนาปี (ตัน)

553,438

547,298

600,981

546,639

456,617

2

ผลผลิตข้าวนาปีเฉลี่ยต่อไร่ (กก.)

415

436

440

436

420

3

ผลผลิตข้าวนาปรัง (ตัน)

632.38

2,777.61

3,598.81

3,523.98

35,293

4

ผลผลิตข้าวนาปรังเฉลี่ย
ต่อไร่ (กก.)

582

550

583

560

628

5

ปริมาณการจับสัตว์น้ำจืด (กก.)

1,884,103

1,973,103

7,037,040

3,779,400

6,208,711

                           2.3)  การผลิตด้านปศุสัตว์ ข้อมูลปี พ.ศ. 2562 มีเกษตรกรและชนิดสัตว์ที่เลี้ยง ดังนี้
                                    - โคเนื้อพันธุ์ลูกผสม จำนวน 133,634 ตัวจำนวนเกษตรกร 24,532 ราย 
                                         - กระบือ จำนวน  32,075 ตัวจำนวนเกษตรกร 6,110 ราย
                                         - สุกร จำนวน  52,650 ตัวจำนวนเกษตรกร 1,801 ราย
                                         - ไก่ (ไก่เนื้อ,ไก่พื้นเมือง,ไก่ไข่)  1,730,152 ตัว จำนวนเกษตรกร 35,386 ราย
                                         - เป็ด (เป็ดเทศ,เป็ดเนื้อ,เป็ดไข่) 162,125 ตัว จำนวนเกษตรกร 6,824 ราย
                                         - แพะจำนวน 292 ตัว  จำนวนเกษตรกร 22 ราย
                                         - แกะ จำนวน – ราย
                     ตารางแสดงข้อมูลประชากรสัตว์และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์จังหวัดยโสธร ปี 2558-2562


ชนิดสัตว์

ปี 2558

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

จำนวน

เกษตรกร

โคเนื้อ

68,021

19,727

70,521

18,645

79,984

19,142

109,925

22,118

133,634

24,532

กระบือ

16,123

5,221

17,680

4,860

21,091

5,005

28,751

5,976

32,075

6,110

สุกร

33,182

1,217

43,340

1,509

51,169

1,691

54,967

1,772

52,650

1,801

ไก่

1,286,206

32,832

1,126,352

29,975

1,336,913

29,705

1,656,811

34,093

1,730,152

35,386

เป็ด

93,626

6,279

95,647

5,522

62,275

2,482

152,988

6,777

162,125

6,824

แพะ

32

1

32

1

91

11

157

18

292

22

แกะ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

           ที่มา :  สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดยโสธร

                             2.4) ข้อมูลเกษตรอินทรีย์และเกษตรปลอดภัยของจังหวัดยโสธร                           

                                    2.4.1) จังหวัดยโสธรกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์วิถียโสธร   โดยมีเป้าหมายส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ที่มีศักยภาพให้มีความเข้มแข็ง และมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ให้ได้มาตรฐาน การรับรองตามความต้องการองตลาด เพื่อขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด โดยมีเป้าหมายการขยายพื้นที่เพิ่มให้ได้เป้าหมาย จำนวน 300,000 ไร่ ภายในปี พ.ศ. 2565 โดยมีวิสัยทัศน์จังหวัด ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน ประเด็นยุทธศาสตร์ ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐานภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2561 – 2565 เกษตรกรและพื้นที่เกษตรอินทรีย์ ปี 2559-2561การดำเนินการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดยโสธร
                                  โดยในปี 2559 สามารถดำเนินการขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์รวมทุกมาตรฐานได้ 90,041 ไร่ มีเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ จำนวน 8,548รายปี 2560ดำเนินการได้ 77,294.25 ไร่ เกษตรกร 10,471 รายปี 2561 ดำเนินการได้ 56,645.50 ไร่ เกษตรกร 4,418 ราย และปี 2562 ดำเนินการได้ 97,489.63 ไร่ เกษตรกร 15,570 รายโดยรวมพื้นที่ี่เกษตรอินทรีย์์และเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ถึงปี 2562 มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ รวมจำนวน 321,470.38 ไร่ และมีเกษตรกรเกษตรอินทรีย์รวมจำนวน 39,007 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2562 )


มาตรฐาน
เกษตร
อินทรีย์

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

ปี 2562
(ณ 12 พ.ย.62)

รวม
(ณ 12 พ.ย.62)

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

ราย

ไร่

Yaso BOS

4

35.00

       

PGS

2,851

24,616.00

4,970

21,751.00

402

2,838.00

       

มกษ 9000

5,243

57,774.50

5,051

47,153.50

719

7,366.75

       

มาตรฐาน
สากล

450

7,615.50

450

8,389.75

3,297

46,440.75

       

รวม

8,548

90,041.00

10,471

77,294.25

4,418

56,645.50

15,570

97,489.63

39,007

321,470.38


                                    2.4.2) ข้าวหอมมะลิอินทรีย์

รายการสถิติ

ปี 2555

ปี 2556

ปี 2557

ปี 2558

ปี 2559

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ (ไร่)

32,157

38,126

42,126

46,626

47,076

จำนวนผลผลิตของข้าวหอมมะลิอินทรีย์
จำแนกรายเกษตรกร รายกลุ่มเกษตรกร (ตัน)

12,605

15,057

16,872

18,464

18,830

จำนวนผลผลิตต่อไร่ของข้าวหอมมะลิอินทรีย์
จำแนกรายเกษตรกร รายกลุ่มเกษตรกร (กิโลกรัม/ไร่)

392

394

395

396

400

จำนวนกลุ่มเกษตรกรอินทรีย์ (กลุ่ม)

8

8

8

10

10

จำนวนสมาชิก (ราย)

1,053

1,606

1,846

2,354

2,789

จำนวนกลุ่มที่มีการใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญา
ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัรฑ์ OTOP ข้าวอินทรีย์ (กลุ่ม)

8

8

8

10

10

                                     2.4.3) ข้อมูลข้าวหอมมะลิปลอดภัย

รายการสถิติ

หน่วย

พ.ศ.

2557

2558

2559

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ

ไร่

1,052,553

1,063,295

1,064,646

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพ

ไร่

1,052,553

1,063,295

1,064,646

จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนและ
พัฒนาความรู้เกี่ยวกับระบบการผลิตข้าวหอมมะล
ิให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน GAP หรือเทียบเท่า
GAP ของจังหวัด

ราย

27,834

29,184

30,534

จำนวนผลผลิตข้าวหอมมะลิเฉลี่ยต่อไร่

กก./ไร่

470

449

450

จำนวนค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกข้าวหอมมะลิ
เฉลี่ยต่อไร่ในปีปัจจุบันและปีที่ผ่านมา

บาท/ไร่

3,964

3,964

2,904

จำนวนพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่เข้าร่วมโครงการ
ปลูกข้าวหอมมะลิปลอดภัยของจังหวัดที่ได้รับ
การรับรองคุณภาพมาตรฐาน GAP หรือ
เทียบเท่า GAP ของจังหวัด

ไร่

6,665

10,800

17,550

                                          ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร

                            2.5) สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จังหวัดยโสธรมีคณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อช่วยเหลือตนเองและสมาชิก ภายใต้พระราชบัญญัติสหกรณ์และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกลุ่มเกษตรกร โดยในปี 2562 จังหวัดยโสธรมีสหกรณ์จำนวน 82 แห่งสมาชิก 98,137 คน แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคเกษตร 64 แห่ง สมาชิก 84,110 คนและสหกรณ์นอกภาคเกษตร 18 แห่ง สมาชิก 14,027 คน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกษตรกรประเภทต่าง ๆ จำนวน 82 แห่ง โดยมีสมาชิก 11,700 คน
                            3) การท่องเที่ยว จังหวัดยโสธรได้เล็งเห็นลู่ทางในการสร้างรายได้จากภาคการท่องเที่ยวและบริการ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์โบราณสถาน/โบราณวัตถุแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางวัฒนธรรม ประเพณีและศาสนาโดยเฉพาะงานประเพณีบุญบั้งไฟ และงานประเพณีบุญแห่มาลัยข้าวตอก พระธาตุพระอานนท์ พระพุทธบุษยรัตน์ วัดมหาธาตุ พระสุก พิพิธภัณฑ์หลวงตาพวงวัดศรีธรรมาราม วิมานพญาแถนซึ่งมีอาคารพญาคันคากและอาคารพญานาคที่เป็น Land Mark แห่งใหม่ของจังหวัดสวนสาธารณะพญาแถน ธาตุก่องข้าวน้อยมีชุมชนเมืองเก่า 200 ปี วัดอัครเทวดามิคาแอล (โบสถ์ไม้) บ้านซ่งแย้ โบราณสถานดงเมืองเตย พระธาตุกู่จานแหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือยหอไตรวัดสระไตรนุรักษ์ พระธาตุโพนทัน วัดพระพุทธบาทยโสธรวัดภูถ้ำพระ วัดพุทธอุทยานภูสูง หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิอินทรีย์,หมอนขวานผ้าขิด, ผ้าไหม,ผ้าพื้นเมือง,เสื่อกก,เครื่องทองเหลือง,เครื่องจักรสาน, ปลาส้ม,ลอดช่อง, เนื้อโคขุน, ไข่ไก่อินทรีย์, ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง เป็นต้น 
                                จังหวัดยโสธรมีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ อาทิ งานประเพณีบุญบั้งไฟ (Rocket Festival ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมโดยปัจจุบันถือเป็นงานประเพณีที่รู้จักในระดับนานาชาติ งานประเพณีแห๋่มาลัยข้าวตอกเป็นงานประเพณีที่จัดขึ้นหนึ่งเดียวในโลกช่วงก่อนวันมาฆบูชาและก่อนวันงานบุญผะเหวด (เทศน์มหาชาติ) เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาในวันมาฆบูชาเป็นประจำทุกปี ประเพณีจุดไฟตูมกาออกพรรษายโสธรในช่วงวันออกพรรษาหรือในเดือนตุลาคมของทุกปี ที่ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในประเทศไทยและงานประเพณีอันสำคัญของชุมชนชาวคริสต์อำเภอไทยเจริญงานประเพณีแห่ดาวช่วงเดือนเทศกาลวันคริสต์มาเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวันคล้ายวันประสูติของพระเยซูและเพื่อแสดงความรักต่อองค์ศาสดาหรือพระเยซูเจ้านอกจากงานประเพณีต่างที่สำคัญของจังหวัดแล้วจังหวัดยโสธรของเรายังมีการสืบสานวัฒนธรรมอีสานตามจารีตประเพณี“ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่” ทั้งเรื่องของอาหาร การทอผ้าและการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสานจังหวัดยโสธรไม่เพียงเป็นจังหวัดที่ี่เป็นเส้นทางผ่านไปสู่แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญหลาย ๆ แห่งในจังหวัดใกล้เคียง แต่ยโสธรยังมีีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์ เช่น วิมานพญาแถนที่มีพิพิธภัณฑพญานาค ที่ได้จัดแสดงตำนานและต้นกำเนิด ความเชื่อเรื่องพญานาค (งูใหญ่)หลากหลายสายพันธุ์จากทั่วโลกและพิพิธภัณฑ์พญาคันคากได้รวบรวมคากคกหลากหลายสายพันธ์พร้อมกับตำนานการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟการทำบั้งไฟที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวยโสธร และกำหนดพื้นที่เพื่อเป็นแหล่งจำนวนสินค้าสำหรับคนทั่วไป เช่น ตลาดบั้งไฟไนท์มาร์เก็ตที่เปิดให้บริการทุกวันเสาร์จังหวัดยโสธรจึงถือเป็นเมืองน่าอยู่ ตามโครงการเมืองน่าอยู่สู่โลกยั่งยืน One Planet City Challenge (OPCC) ประจำปี 2561 ในระดับประเทศ และอันดับ 7 ในระดับนานาชาติ
                               โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือ WWF ซึ่งรางวัลดังกล่าวถือเป็นการการันตีได้ว่า จังหวัดยโสธร เป็นเมืองที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกควรได้มาเยี่ยมเยือนสักครั้งแล้วทุกท่านจะได้พบกับไมตรีจิตอันดีจากเราชาวยโสธร ได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวอีสานดั้งเดิมเช่น บ้านห้องแซงอำเภอเลิงนกทาที่มีความผูกพันกับความเชื่อความศรัทธาและในย่านตัวเมืองยโสธรยังเป็นเมืองท่าขนสินค้าที่เก่าแก่่ในสมัยฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลจนกระทั่งทำให้ย่านชุมชนบ้านสิงห์ท่ามีการสร้างบ้านเรือนตามแบบศิลปกรรมแบบจีนผสมกับยุโรปที่มีความผสมผสานอย่างลงตัว “ยโสธร ดินแดนรูปพระจันทร์เสี้ยว"ดินแดนที่ตั้งอยู่บนทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแห่งนี้เป็นดินแดนแห่งวัฒนธรรมที่อบอวลด้วยมนต์เสน่ห์แห่งวิถีชีวิต ประเพณี มีหลายสิ่งน่าสนใจและน่าค้นหา ขอเพียงแค่สักครั้งที่ท่านจะได้มาสัมผัสด้วยตาตนเอง ตามคำที่ว่า “ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน” ซึ่งในอนาคตจังหวัดยโสธรมีแนวทางในการขับเคลื่อนให้เมืองยโสธรเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าด้านการเกษตรอินทรีย์ และศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอีกด้วยที่ผ่านมาจังหวัดยโสธรได้กำหนดให้ปี ๒๕๕๙เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวของจังหวัดภายใต้แนวคิด “สุขใจที่ได้มายโสธร” โดยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจังหวัดยโสธรได้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ตลาดประชารัฐการประกวดแข่งขันลาบยโสธร กิจกรรมชวนกันไปดำนาการแข่งขันเจ็ตสกีชิงแชมป์ประเทศไทยสนาม 3 ลำน้ำทวน การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ 7 สิ่งหนึ่งเดียวในประเทศไทยพบได้ที่จังหวัดยโสธรการจัดทำมินิซีรี่ส์ส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดยโสธร “มนต์ฮักวิมานพญาแถน”และการส่งเสริมการปั่นจักรยานเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดยโสธร เป็นต้น
               
           จำนวนนักท่องเที่ยว รายได้ ระยะเวลาการพำนักและค่าใช้จ่าย ปี พ.ศ. 2556 – 2562


ปี

จำนวนนักท่องเที่ยว

รายได้
(ล้านบาท)

ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย (วัน)

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย
(บาท/คน/วัน)

รวมทั้งสิ้น
(คน)

ชาวไทย
(คน)

ชาวต่างชาติ
(คน)

ชาวไทย

ชาวต่าง
ชาติ

ชาวไทย

ชาวต่าง
ชาติ

2556

499,902

487,629

12,273

575.73

2.12

2.43

724.42

1,051.16

2557

494,385

482,377

12,008

581.62

2.09

2.41

753.15

1,086.87

2558

513,244

500,922

12,322

609.18

2.04

2.43

771.18

1,115.83

2559

523,642

510,964

12,678

646.85

2.06

2.44

798.98

1,150.92

2560

607,821

592,398

15,423

776.33

2.09

2.40

819.97

1,190.60

2561

628,504

612,731

15,773

862.35

2.11

2.40

849.09

1,238.89

2562

525,920

512,445

13,475

733.05

-

-

-

-

     *หมายเหตุ: ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย (วัน) และค่าใช้จ่ายเฉลี่ย (บาท/คน/วัน) ปี 2562 ประมาณการณ์
                     จากเดือนมกราคม – ตุลาคม 2562
           ที่มา : กองเศรษฐกิจ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ข้อมูลโดย : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา
  
                  จังหวัดยโสธร
                       
                            โรงแรม/ที่พัก ข้อมูลจากที่ทำการปกครองจังหวัดยโสธจำนวนสถานประกอบการที่มาขอจดทะเบียนประเภทโรงแรม/ที่พักมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แสดงให้้เห็นศักยภาพและความพร้อมของ
จังหวัดยโสธรในการที่จะรองรับการท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดยมีทั้งโรงแรมขนาดใหญ่่ที่มีมาตรฐานสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ทุกระดับและหลากหลายกิจกรรมในการให้บริการนักท่องเที่ยว เช่น ภัตตาคาร ห้องประชุมสัมมนา แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรม/ที่พักขนากเล็ก จังหวัดยโสธรมีจำนวนโรงแรมที่พักที่เพิ่มขึ้น
โดยปี 2558 มี73 แห่ง ปี 2559 มี 88 แห่ง ปี 2560 มี 95 แห่ง ปี 2561 มี 103 แห่ง และปี 2562 มี 107 แห่ง

                          4)  การค้า การค้าของจังหวัดยโสธรโดยเฉพาะการค้าข้าวมีหนาแน่นที่ชุมชนเทศบาลเมืองยโสธร เทศบาลตำบลกุดชุมพัฒนาเทศบาลตำบลเลิงนกทาเทศบาลตำบลคำเขื่อนแก้ว สินค้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ปลาส้ม ถั่วลิสง
แตงโมอินทรีย์หมอนขวานผ้าขิดผ้าไหมลายลูกหวาย ผ้าไทยท้องถิ่น จักสานไม้ไผ่กระติบข้าในปี2561จังหวัดได้ดำเนินการคัดเลือกตลาดประชารัฐที่ศักยภาพเพื่อเสนอตลาดประชารัฐบรรจุในปฏิทิน“ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน”
แล้ว 1 แห่ง ได้แก่ ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรมถนนสายวัฒนธรรม ณ บริเวณถนนคนเดิน บ้านสิงห์ท่า ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร โดยมีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล
ตลาดประชารัฐ ดังกล่าว

                         5) ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดยโสธรมีสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง คือ หมอนขวานผ้าขิด ผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่ และเสื่อกกและผลิตภัณฑ์จากกก และผ้าย้อมสีธรรมชาติ ส่วนประเภทอาหาร ได้แก่ ข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ข้าวหอมมะลิคุณภาพดีข้าว 5 สายพันธุ์ และปลาส้มยโสธร อันเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยข้อมูลปี 2562 มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สะสมจำนวน986 ผลิตภัณฑ์ (ข้อมูล ณปี2562) และผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับความนิยมและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกและจังหวัดยโสธร โดยเฉพาะหมอนขวานผ้าขิดที่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว สะสมจำนวน 71 รายมีการส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนผลิตภัณฑ์อื่นๆที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นและภายในประเทศ ซึ่งมีกำลังผลิตไม่มากนักและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกในชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เครื่องทองเหลือง แกะสลักไม้ ปลาส้ม ไก่ย่างบ้านแคน ลอดช่องเนื้อโคขุนไข่ไก่อินทรีย์ และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสงเป็นต้น
                       จังหวัดยโสธร มีกลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ที่ลงทะเบียนในระบบปี 2559-2562 รวมจำนวน 1,206 กลุ่ม/ราย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตชุมชน 986 กลุ่ม วิสาหกิจชุมชน/SME 3 กลุ่ม/ราย และผู้ผลิตชุมชนที่่เป็นข้าวของรายเดียว 217 ราย โดยมีผลิตภัณฑ์รวมจำนวน 1,758 ผลิตภัณฑ์แยกเป็นประเภทอาหาร 353 ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม 19 ผลิตภัณฑ์ ผ้าและเครื่องแต่งกาย 312 ผลิตภัณฑ์ ของใช้ของตกแต่ง 996 ผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร78 ผลิตภัณฑ์ และเมื่อแบ่งตามระดับการพัฒนาจะเป็นกลุ่มดาวเด่นสู่สากล (A)131 ผลิตภัณฑ์กลุ่มอนุรักษ์สร้างคุณค่า (B)137 ผลิตภัณฑ์ กลุ่มพัฒนาสู่การแข่งขัน (C) 256ผลิตภัณฑ์ และกลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (D) 1,234 ผลิตภัณฑ์ ายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร พบว่า จังหวัดยโสธรมีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

   
พ.ศ.
 

รายได้จากการจำหน่าย/ปี
(บาท)

2555

855,426,192.00

2556

861,215,526.00

2557

14,969,470.00

2558

1,081,433,256.00

2559

1,211,205,246.72

2560

1,531,298,764.00

2561

1,867,373,131.00

2562

2,310,863,164.00

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร

                      6) อุตสาหกรรม จังหวัดยโสธรมีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 311 โรงงาน เงินลงทุน 4,944,150,311 บาท และมีการจ้างงานรวม 4,623 คน โรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่มีทั้งขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ซึ่งมีทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เช่น ยางพารา ส่งไปจำหน่ายยังประเทศจีน ข้าวหอมมะลิ ชุดชั้นในสตรียี่ห้อซาบีน่า เป็นต้น

พ.ศ.

โรงงาน
ขนาดเล็ก (แห่ง)

โรงงาน
ขนาดกลาง(แห่ง)

โรงงาน
ขนาดใหญ่ (แห่ง)

รวมโรงงาน
ทุกขนาด (แห่ง)

จำนวนแรงงาน
ในโรงงาน (คน)

2553

132

48

3

183

3,369

2554

142

49

3

194

3,429

2555

158

53

4

215

3,558

2556

167

62

4

233

3,698

2557

176

65

6

247

4,133

2558

185

71

7

263

4,284

2559

193

74

7

274

4,352

2560

277

14

3

294

4,469

2561

282

15

3

300

4,541

2562

311

15

3

293

4,623

                        ที่มา : สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร
                                  โดยมีหมวดอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่
                        6.1) หมวดอุตสาหกรรมการเกษตร มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 59 โรงงาน เช่นอุตสาหกรรมประเภทโรงสีข้าว อบเมล็ดพืช และทำมันเส้น เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 18.98 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 1,859.78 ล้านบาท และการจ้างงาน 707 คน 
     7.2) หมวดอุตสาหกรรมอโลหะ มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 53 โรงงาน เช่นอุตสาหกรรมประเภทผลิตภัณฑ์คอนกรีตและคอนกรีตผสมเสร็จ เป็นต้น คิดเป็นร้อยละ 17.05 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 367.14 ล้านบาท และการจ้างงาน 395 คน
     7.3) หมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 10.29 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด โดยมีเงินลงทุน 169.15 ล้านบาท และการจ้างงาน 118 คน